หากพูดถึงของเล่นของเด็กๆ ในสมัยเด็กยุกที่ยังไม่มี internet หรือ Tv ยังดู youtube ไม่ได้ อย่างในยุค 80 เป็นยุคทองของเล่นชนิดหนึ่งของเล่นแบบบ้านๆ ที่ไม่ต้องมีความไฮเทคอะไรมากนั่นก็คือ ตุ๊กตุ่น หรือหุ่นยางโบราณนั้นเอง
เด็กสมัยนั้น มีวิธีการเล่นที่ผู้ใหญ่เห็นยังอึ้งว่า คิดกันได้ไง เอาตุ๊กตุ่น (หุ่นยาง ANT) มาทอยเส้นแทนเหรียญ บางคนก็เอาไปให้พันด้วยลวดเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับหุ่นยาง
ไม่มีใครรู้ว่าหุ่นยาง Ant เกิดมาตั้งแต่เมื่อใดแต่หลายคนก็สันนิษฐานกันว่าน่าจะเกิดขึ้นเนื่องจาก ของเล่นที่มาจากเมืองนอกนั้นมีราคาแพงและอีกทั้งมีการนำเอารายการการ์ตูน ไม่ว่าจะเป็นมดแดง อุลตร้าแมน ขบวนการแปลงร่าง 5 สี และ หุ่นยนต์ต่างๆมากมาย มาฉายทางโทรทัศน์
ทำให้หุ่นยาง Ant เป็นที่นิยมมากๆ ของกลุ่มเด็กๆ เพราะด้วยราคาที่มันไม่แพงเท่ากับหุ่นยนต์จากเมืองนอก และมันพอที่จะซื้อได้ของเด็กในยุคนั้น
หุ่นยาง Ant มีออกมาด้วยกันหลายแบบไม่ว่าจะเป็น ซุปเปอร์ฮีโร่ทั้งจากญี่ปุ่น ไทย และเลยไปถึงพวก Super Hero ฟากอเมริกา รวมทั้งขนาดตัวสัตว์ประหลาดต่างๆ ยังไม่เว้น
ถ้าให้พูดถึงยี่ห้อที่โด่งดังที่สุดในวงการ ตุ๊กตุ่น หุ่นยาง ก็น่าจะเป็นตรา “ANT” ซึ่งโลโก้จะเป็นตัวมด 6 ขาที่แอบอยู่ตามส่วนต่างๆ ของตัวตุ๊กตุ่น หรือตุ๊กตุ่นบางตัวที่มีขนาดใหญ่
ฝีมือการออกแบบหุ่นยาง Ant มาจากฝีมือของคุณลุง วสันต์ วิชชุกรมานนท์ เป็นช่างแกะบล็อกตุ๊กตุ่น ที่เคยใช้ทอยเส้นสมัยเด็กๆ ถ้าสังเกต จะเห็น รูปมด และตรา ANT กำกับอยู่ด้านหลัง เพื่อให้รู้ว่าเป็นฝีมือของช่างคนใด
ในสมัยก่อนการทอยตุ๊กตุ่น หรือหุ่นยาง นั้นฮิตแบบถล่มทลาย เรียกได้ว่า ทุกโรงเรียนทุกตรอกซอกซอย ถ้ามีเด็กๆ อยู่เป็นได้จับจองถนนหน้าบ้านมาใช้ทอยเส้นกันเลย ส่วนวิธีการเลือกตุ๊กตุ่น หรือหุ่นยางมาใช้ทอยเส้นนั้นส่วนใหญ่จะเลือกแบบ แขนกาง ขากาง ยิ่งมีอาวุธติดมือยิ่งดี เพราะจะได้มีโอกาส คาบเส้นได้ง่ายขึ้น
จะมีอีกวิธีที่นิยมมากในหมู่เซียนทอยตุ๊กตุ่น หรือ หุ่นยางคือการเอา ลวดหรือตะกั่วมามัดบริเวณ แขนและขาของตัวตุ๊กตุ่น หรือ หุ่นยาง เพราะจะทำให้เวลาที่ทอยไม่กระเด็นไปไกล หรือเรียกง่ายๆ ว่ามัน ” หนึบ “
#
จะเห็นว่า ตุ๊กตุ่น หุ่นยางโบราณนั้น ก็มความสวยงาม ความ Classic ในตัวมันเอง ยิ่งเมื่อเวลาผ่านและไม่มีการผลิตเพิ่ม ทำให้ราคาจากตัวละไม่กี่บาทถีบตัวสูงขึ้นเป็นหลักร้อย และอาจจะถึงหลักพันในตัวที่หายากๆไปแล้ว แต่สิ่งที่สำคัญกว่ามูลค่าของตัวเงิน ” คือคุณค่าของจิตใจ ”
ขอบคุณที่มา junzoanimate