นักศึกษาคิดค้น พลาสติก ที่ทำจากหนังปลาและสาหร่าย ย่อยสลายได้ 100%

ในปัจุบันปัญหาเรื่องมลภาวะที่เกิดจากถุงพลาสติกเริ่มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ มันส่งผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมทุกด้าน หลายหน่วยงานพยายามที่จะแก้ไขปัญหาจากพลาสติกเหล่านี้มาเป็นเวลานาน แต่ดูเหมือนว่ามันก็เป็นเพียงการแก้ไขปัญหาได้เพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น

นักศึกษาชาวอังกฤษชื่อว่า ลูซี่ฮิวจ์ เธออายุเพียงแค่ 23 ปี ปัจบุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยซัสเซ็กซ์ในสหราชอาณาจักร เธอได้ทำโครงการตัวหนึ่งได้สำเร็จ และเธอเชื่อว่ามันจะเป็นทางออกที่ดีต่อปัญหาเรื่องปัญหาของพลาสติกได้อีกด้วย

เธอได้สร้างวัสดุทดแทนพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า ” Marinatex ” เพื่อเอาไว้ใช้แทนแผ่นพลาสติกชนิดบาง

Marinatex เป็นพลาสติกจากชีวภาพที่มีความเหนียวกว่าพลาสติกที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่มันไม่เป็นพิษ และก็ยังสามารถย่อยสลายเองได้แบบ 100% และยังสามารถเอาไปใช้ทำปุ๋ยหมักได้ด้วย

เธอกล่าวว่า “ พลาสติกแบบดั้งเดิมจะไม่สลายตัวหลังจากผ่านไปหลายร้อยหรือหลายพันปี และในปัจจุบันก็ดูเหมือนว่ามันจะถูกใช้มากขึ้นทุกวัน ”

เธอกล่าวอีกว่า ” ไม่ใช่เธอแค่คนเดียวที่กำลังพัฒนาวัสดุทดแทนพลาสติกดั้งเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หลายหน่วยงานกำลังพัฒนาสิ่งนี้ เพราะตระหนักได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นตอนนี้”

เริ่มแรกเธอได้พัฒนาวัสดุทดแทนเหล่านี้ขึ้นมาจากสาหร่าย แต่ผลที่ได้คือสาหร่ายมันหดตัวกลับเป็นรูปร่างของสาหร่ายได้อย่างง่ายดาย

ต่อมาเธอได้ไปเยี่ยมชมบริษัท ประมงแห่งหนึ่ง เธอได้เห็นปริมาณขยะอินทรีย์ที่ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก เธอจึงได้ลองนำขยะพวกนั้นกับมาทำการวิจัย และก็พบว่าผิวหนังของปลา , เปลือกหอย , เปลือกกุ้ง สามารถเอามาใช้งานได้ และแก้ปัญหาจากการใช้สาหร่ายอย่างเดียวได้

โครงการวิจัยของเธอนั้นมันไม่ได้ใหญ่มาก แต่ลูซี่ฮิวจ์ ได้คำนวณแล้วว่าวัสดุเหลือใช้จากปลาในมหาสมุทรแอตแลนติกของเรือหนึ่งลำสามารถให้ผลผลิตถุง Marinatex ประมาณ 1,400 ถุง

ตอนนี้เธอกำลังศึกษาอยู่ปีที่สี่ของการศึกษาระดับปริญญาตรีของเธอ แต่เธอหวังว่าด้วยการสนับสนุนที่ถูกต้อง Marinatex อาจเข้าสู่ตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2020

เราขอเป็นกำลังใจให้ผลการวิจัยของเธอประสบความสำเร็จ เพื่อจะได้เอาวัสดุทดแทนนี้ มาใช้งานแทนพลาสติกจำนวนมากในปัจจุบัน

ขอบคุณที่มา ladbible