อาจจะมีหลายคนที่ชื่นชอบกับการได้สัมผัสอากาศที่หนาวเย็น แล้วคุณคิดว่าความหนาวเย็นที่คุณชื่นชอบนั้น มันสามารถหนาวได้ขนาดไหน ถ้าบ้านเรานะเต็มที่บนยอดดอยอุณหภูมิก็แค่เลขเดียว แค่นี้เราก็หนาวมากแล้ว แล้วถ้าคนที่อยู่ในอุณหภูมิที่ติดลบมาก ๆ พวกเขาจะทำอย่างไร แล้วถ้าเป็นเราจะอยู่ได้ไหม???
ไซเปรียน แวร์โซ นักชีวดาราศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านธารน้ำแข็ง ได้มีโอกาสไปทำงานอยู่ที่สถานีวิจัยคอนคอร์เดีย ในทวีปแอนตาร์กติกา หรือบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งถือเป็นศูนย์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ห่างไกลผู้คนมากที่สุดในโลก ไกลยิ่งกว่าการขึ้นไปอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติที่อยู่เหนือพื้นโลกไป 400 กิโลเมตรเสียอีก และนั่นทำให้ไซเปรียนต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศอันหฤโหด ซึ่งท้าทายและอันตรายกว่าการเดินทางไปอวกาศเสียอีก
ตลอดช่วงเวลาที่ ไซเปรียน ได้ไปทำงานวิจัยเขาก็จะนำภาพต่าง ๆ นำมาแชร์ให้ผู้ที่ค่อยติดตามผลงานของเขาได้เห็นว่าเขาต้องเจอกับอะไรบ้าง
เขาก็มีไอเดียแปลก ๆ ที่อยากจะในเสนอให้แฟนคลับเขาได้ดู โดยการออกไปปรุงอาหารนอกที่พัก ที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ว่ามันจะเป็นอย่างไร
ทุกอย่างที่เขาทำมันถูกแช่แข็งเร็วมาก ราวกับว่าสิ่งของเหล่านั้นไม่ได้สนใจในแรงโน้มถ่วงของโลกใบนี้เลย
แค่พยายามตอกไข่ใส่กระทะ เสี้ยววินาทีหลังจากไข่แตก ก็กลายเป็นน้ำแข็งกลางอากาศซะแล้ว
ไซเปรียนกล่าวว่า : ” มันคือสถานที่ ๆ หนาวเหน็บที่สุดบนโลก ด้วยอุณหภูมิที่อาจต่ำถึง -80 องศาเซลเซียสในช่วงฤดูหนาว”
เราเห็นพระอาทิตย์อีกครั้งในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังจากที่มันหายลับไปจากขอบฟ้าเป็นเวลา 3 เดือน สภาพอากาศที่นี่แห้งแล้งและออกซิเจนก็มีน้อยมาก
อาหารสดของเราหมดเกลี้ยงตั้งแต่ช่วงต้นฤดูหนาว ดังนั้นเราจึงต้องกินอาหารแช่แข็งเสียเป็นส่วนใหญ่
ที่สถานทีแห่งนี้ เรามีคณะทำงานกันทั้งหมด 13 ชีวิต ส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิค นอกจากนั้นก็มีพ่อครัวและหมออย่างละคน
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ ๆ ไม่น่ามาอยู่สักเท่าไหร่ แต่คอนคอร์เดียก็ยังคงน่าสนใจอย่างมากสำหรับนักวิจัยสาขาต่าง ๆ เช่น ดาราศาสตร์และสรีรศาสตร์
โดยทาง ESA หรือสำนักงานอวกาศยุโรป ใช้สถานีแห่งนี้ในการศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ต่อสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นกับสถานีบนดวงจันทร์หรือดาวอังคารในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาธารน้ำแข็ง ด้านบรรยากาศศาสตร์ และด้านธรณีฟิสิกส์
ไซเปรียนและเพื่อนร่วมงานของเขากำลังศึกษาเรื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงมาในอดีต ซึ่งมันทำให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต
การวิจัยที่นี่ทำให้เราทราบข้อมูลที่ทรงคุณค่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต้องขอบคุณโครงการ EPICA ที่มีเป้าหมายในการศึกษาชั้นบรรยากาศโลกในอดีต ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ระดับก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน ไม่เคยเพิ่มสูงขึ้นมากเท่านี้มาก่อนในช่วง 8 แสนปีที่ผ่านมา
เห็นสภาพอากาศแบบนี้แล้ว เป็นคุณจะกล้าไปเผชิญกับความหนาวเย็นระดับ -70 องศาหรือเปล่า และอากาศหนาวสุดที่คุณเคยเจอมาคือกี่องศากันบ้าง ?
ขอบคุณที่มา boredpanda