ปัจจุบันนักวิจัยทั่วโลกมีการศึกษาวิจัยปลาหมึกไม่มากนัก สำหรับประเทศไทยจากการเก็บข้อมูลพบปลาหมึกอยู่ 80 ชนิด สถานวิจัยความเป็นเลิศความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย ได้สนใจวงจรชีวิตของปลาหมึกในแต่ละสายพันธุ์ ยกตัวอย่างการค้นพบปลาหมึกสายพันธุ์เช่น ปลาหมึกสายพันธุ์ผ้าห่ม (blanket octopus)
หมึกผ้าห่ม (Blanket octopus) ได้ชื่อว่าหมึกผ้าห่มเพราะว่ามีรูปร่างลักษณะคล้ายกับผืนผ้าห่ม ความจริงแล้วผ้าห่มผืนนี้คือเนื้อเยื่อบางๆ(web) ที่เชื่อมระหว่างแขนคู่ที่ 1 และ 2 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว 2-3 เท่า
โดยปกติหมึกผ้าห่มตัวผู้จะมีขนาดตัวยาวเพียง 2 เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนตัวเมียจะมีขนาดตัวยาวถึง 2 เมตร เป็นขนาดที่แตกต่างกันมากระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย ในอาณาจักรสัตว์เรียกความต่างของขนาดเพศแบบนี้ว่า dimorphism
ปลาหมึกผ้าห่ม (Blanket octopus) จะมีจุดเล็กๆ 2 จุดที่เห็นอยู่ตรงส่วนหน้าของมันนั้นไม่ใช่ลูกตา แต่เป็นอวัยวะสำหรับรับกลิ่นและที่เห็นเป็นเหมือนลูกกลมๆ สีเขียวในหัวของมันนั้นคือตัวกรองแสงอาทิตย์ ซึ่งมันมีดวงตาเป็นรูเล็กๆ เหมือนกับรูจมูก ว่ากันว่า มันสามารถมองเห็นนักล่าได้ไกลมาก ราวกับตาของนกเลยทีเดียว มันจึงเดินทางใต้ท้องทะเลลึกได้อย่างปลอดภัย
ปกติปลาหมึกชนิดนี้อยู่ในอุณหภูมิต่ำ อยู่ไกลจากชายฝั่งออกไป แต่ในช่วงปี ค.ศ. 2007 เกิดปรากฏการณ์คลื่นใต้น้ำ ทำให้ปลาหมึกสามารถขึ้นมาอยู่ใกล้บริเวณชายฝั่งได้ สามารถพบเห็นได้ที่น่านน้ำฝั่งอันดามัน
การป้องกันตัวจากอันตรายเมื่อต้องเจอกับสัตว์ที่ตัวใหญ่กว่าหรือศัตรู มันจะแผ่เนื้อเยื่อที่กล่าวมาข้างต้นนี้เพื่อให้ดูตัวใหญ่เป็นการข่มขวัญคู่ต่อสู้นั่นเอง
มีข้อมูลบ้างอย่างที่ระบุกันว่าพิษของแมงกะพรุนเรือรบโปรตุเกส (Portuguese man-of-war) ที่สามารถปลิดชีพคนได้นั้น ก็ไม่สามารถทำอะไรหมึกชนิดนี้ได้เลย
มันมีเรื่องที่น่าแปลกใจเหมือนกันนะครับ ว่าทำไม? ตัวผู้ถึงมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียมาก
ขอบคุณที่มา facebook