โลกของเราได้ก่อกำเนิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 4600 ล้านปีก่อน ปัจจุบันโลกของเรานั้นมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากฝีมือของธรรมชาติและฝีมือของมนุษย์ที่สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มากมายขึ้นมา ซึ่งมันทำให้มีบางอย่างเปลี่ยนไปจนน่าตกใจ และยิ่งวันเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่โลกของเราก็ยิ่งเปลี่ยนไปขึ้นเรื่อย ๆ
วันนี้เราจะพาทุกท่านไปชมภาพความเปลี่ยนแปลงตามภูมิประเทศแต่ละประเทศ ว่าช่วงเวลาที่ผ่านมามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างได้ ถ้าพร้อมแล้วเราไปชมกันเลย
1. หมู่เกาะต้นปาล์ม ที่ดูไบ
เมืองดูไบเป็นนครที่ใหญ่และเป็นเมืองท่าที่สำคัญของโลก มีการเจริญเติบโตขยายตัวรวดเร็วมาก ทั้งบนพื้นดินและในทะเล กระจายไปกว่า 300 กิโลเมตร ประชากรมีมากกว่า 3.3 ล้านคน มนุษย์มีการพัฒนา แล้วก็สร้างหมู่เกาะปาล์มและหมู่เกาะเดอะเวลิด์ขึ้นมา
2. น้ำทะเลเปลี่ยนสี : ทะเลสาบเนตรอน
มองแวบแรกคุณอาจจะงงนึกว่าภาพที่เห็นเป็นพื้นผิวโลก แต่ไม่ใช่นั่นคือทะเลสาบที่มีน้ำสีแดงเข็ม เนื่องจากความเค็มและอุณภูมิองศาที่สูง 40 ํC (104 ํF) และค่าน้ำของทะเลสาบเนตรอนนั้นจากการวัดค่าน้ำมี pH ที่มากกว่า 12 จึงเป็นทะเลสาบที่ติดหนึ่งในที่อันตรายที่สุดในโลก สีของน้ำเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตที่เป็น Halophile รวมถึงแบคทีเรีย จึงทำให้น้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง
3. การตัดป่าเพื่อปลูกถั่วเหลืองในซานจูเลียน
ในช่วงไม่กี่ปี่ที่ผ่านมาอเมซอนอยู่ในช่วงที่มีผลกระทบมากที่สุด จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ทำให้เกิดไฟป่าและมนุษย์ที่ตัดต้นไม้ เตรียมพื้นที่สำหรับเพราะปลูก ดังภาพที่เห็นด้านบน ส่วนใหญ่พื้นที่ใหม่ในที่นี้ใช้ในการทำสวนเพาะปลูกถั่วซะส่วนใหญ่เพราะนำมาเป็นอาหารให้กับวัว
4. โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศจีน
รัฐบาลจีนมีความคิดก้าวไกลในเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์มากกว่าที่เราจินตนาการได้ เป็นเวลาหลายปีที่แผงโซลาร์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วไปรอบโลก หลาย ๆ ประเทศกำลังแข่งกันใช้พลังงานนี้ และกำลังทำสวนพลังงานแสงอาทิตย์ภายในประเทศของพวกเขา จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมันณี ญี่ปุ่นเป็นอันดับต้น ๆ ภาพด้านบนคือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่สร้างขึ้นโดยจีน
5. ธารน้ำแข็งที่ละลายและค่อย ๆ หายไปกลายเป็นแม่น้ำ ตั้งอยู่ที่โคลัมเบียในสหรัฐอเมริกา
ธารน้ำแข็งแห่งนี้ตั้งอยู่ชายฝั่งทางตอนใต้ของอลาสก้า เป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลายเร็ว ตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1980 ดังภาพด้านบนที่เห็นว่าปี 1984 ยังเป็นธารน้ำแข็ง แต่ปี 2020 น้ำแข็งได้ละลายหมดแล้ว
6. ภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อม : ทรายน้ำมันของแคนาดา
แคนาดาเป็นประเทศที่ติดในอันดับ 3 ที่มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากที่สุดในโลก และนี้เป็นหนึ่งที่มีความเสียหายมาที่สุดในการขุดเจาะสกัดน้ำมันจากทราย และต้องใช้พลังงานและน้ำจำนวนมาก แถมยังปล่อยพิษและสารมลพิษจำนวนมาก พวกเขาใช้ทรัพยากรในเชิงกลยุทธ์ในการหาผลประโยชน์ นี่คือภาพที่บ่งบอกได้ว่าเขากำลังเป็นเช่นไร
7. อุตสาหกรรมที่ได้ถูกทำลายเมื่อทะเลสาบแห้ง : ทะเลอารัลระหว่างคาซัตสถานและอุซเบกิสถาน
ความโลภของมนุษย์คือสิ่งที่ทำลายล้างได้ทุกสิ่ง ดังเช่นภาพนี้บอกได้ชัดว่า โครงการอุตสหกรรมการประมงได้ถูกทำลายเพราะการหดตัวลงของทะเลสาบอารัลเนื่องจากการสร้างการชลประทานให้พื้นที่ทะเลทรายในการเพาะปลูก ฝ้ายและพืชอื่น ๆ โครงการนี้ต้องจบลงเพราะฝ้ายเป็นพืชที่บริโภคน้ำมาก
8. กำแพงสีเขียวของจีน
จากการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เห็นได้ว่า ประเทศจีนมีการพยายามฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ระบบนิเวศที่แห้งแล้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กำแพงเมืองจีนที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 มีจุดมุ่งหมายเพื่อชะลอความเสื่อมโทรม หลังจากที่ผู้คนช่วยกันยืนหยัดที่จะช่วยกันปลูกต้นไม้จนสามารถสร้าง “กำแพงสีเขียว”
9. ลาสเวกัสเป็นเมืองที่ขยายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ : เมืองที่เติบโตในเนวาดาของสหรัฐอเมริกา
ลาสเวกัส เป็นเมืองที่มีประชาชนมากที่สุดในโลก ในช่วง 4 ทศวรรษที่ผ่านมาเมืองลาสเวกัสได้เพิ่มจำนวนประชาชนประมาณห้าเท่า ด้วยการเจริญเติบโตของประชากรของเมืองพร้อมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การเกษตรและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ทะเลสาบจึงมีขนาดลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังที่เห็นภาพด้านบน
10. ธารน้ำแข็งแอนตาร์กติกาละลายอย่างช้า ๆ : ธารน้ำแข็งเกาะไพน์ (แอนตาร์กติกา)
ในแอนตาร์กติกตอนนี้ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากภาวะโลกร้อน ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่หลายก้อนกำลังละลาย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ประเมินว่าถ้าหากธารน้ำแข็งนี้ละลายและปล่อยน้ำละลายสู่มหาสมุทรระดับจะน้ำทะเลสูงขึ้น 61 เมตร แต่น่าเสียดาย ที่ธารน้ำแข็งไพน์ไอส์แลนด์ เป็นธารน้ำแข็งที่ละลายลงเร็วที่สุด ในแอนตาร์กติกมีหน้าที่รับผิดชอบ ประมาณ 25 % ของการสูญเสียน้ำ
11. ภาพของภูเขาปินาตูโบฟิลิปปินส์เมื่อธรรมาชาติทำลายแล้วฟื้นตัวตามธรรมชาติ
ภูเขาไฟปินาตูโบได้เกิดการปะทุขึ้นอีกครั้งในรุนแรงที่สุดอีกครั้งในปี 1991 หลังจากไม่มีเหตุการณ์อะไรมา 500 ปี ภูเขาไฟปะทุที่รุนที่สุดในศตวรรษที่ผ่านมา ผลกระทบของมันรู้สึกได้ทั่วโลก : ชั้นบรรยากาศ ชั้นโอโซน ชั้นกรดกำมะถันล้อมรอบโลกทั้งโลก อุณหภูมิลดลง ได้รับความเสียหายอย่างกว้างขว้าง วันนี้เราได้เห็นว่าภาพพื้นที่ภูเขาไฟกลับมาเขียวตามธรรมชาติอีกครั้งค่อย ๆ ฟื้นจากการทำลายที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟครั้งนั้น
12. เมืองร้างพริเพียตที่ถูกทิ้งกลายเป็นป่าเขียวชะอุ่มในรัสเซีย
เมืองพรีเพียตหลังจากเกิดสหภาพโซเวียต เมืองขนาดใหญ่ถูกทิ้งล้าง ให้อยู่กับธรรมชาติ เพื่อฟื้นฟูนำความสมบูรณ์กลับมาอีกครั้ง แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ที่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ช้า แต่กลับกันตอนนี้เต็มไปด้วยความเขียวขจี
ที่มา : brightside