10 อาการฟ้องว่า “ไต” ของคุณไม่ไหวแล้ว!!

โรคไตเรื้อรัง คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรังคือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน รวมถึงสภาวะอื่นๆ เช่น ไตอักเสบ โรคถุงน้ำในไต เป็นต้น

วันนี้เรามาดูวิธีสังเกตเกี่ยวกับ “โรคไต” กันว่าสัญญาณเตือน เสี่ยงโรคไตมีอะไรบ้าง

1.ปัญหาเรื่องการนอน

หากไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยการขับสารพิษต่างๆ ออกทางปัสสาวะ แต่ยังคั้งค้างอยู่ตามเส้นเลือดในร่างกาย เมื่อสารพิษมีมากขึ้น จะทำให้คุณนอนหลับยาก นี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำไตทำงานได้น้อยลง เมื่อคุณนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอาจมีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ การหยุดพักหายใจอย่างน้อยหนึ่งครั้งและจะหยุดต่อไปสักครู่เป็นเวลา 1 นาทีหลังจากหยุดพักแต่ละครั้งจะทำให้เกิดอาการกรน ดังนั้นหากคุณมักมี อาการอย่างนี้ ทางที่ดีควรรีบไปพบแพทย์ด่วน!

2.ปวดหัวบ่อยๆ เหนื่อยง่าย ร่างกายไม่มีเรี่ยวแรง

ไตที่แข็งแรงจะเปลี่ยนวิตามินดีให้เป็นกระดูกที่แข็งแรงและผลิตฮอร์โมน Erythroprietin (EPO) ช่วยในการการสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อไตไม่ทำงานอย่างถูกต้อง การหลั่ง EPO ก็จะลดลง เซลล์เม็ดเลือดแดงที่รับผิดชอบในการพกพาออกซิเจนก็จะลดลงด้วย ทำให้เกิดความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อและสมองอย่างรวดเร็ว

ภาวะโลหิตจางเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและอาจเกิดภาวะโลหิตจาง การทำงานของไตก็จะเหลือเพียง 20% หรือ 50% เท่านั้น แต่ถ้าหากคุณนอนหลับอย่างเพียงพอ แต่ยังคงรู้สึกอ่อนเพลียอ่อนแอคุณควรพบแพทย์ทันที!

3.ผิวหนังมีอาการคันแห้ง

ไตที่แข็งแรง จะช่วยขจัดของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากกระแสเลือด และช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและรักษาสมดุลของแร่ธาตุในร่างกาย ถ้าผิวของคุณมักจะแห้งคันอาจเป็นเพราะไตไม่สามารถรักษาความสมดุลของแร่ธาตุได้ อาจส่งผลร้ายแรงนำไปสู่โรคกระดูกและโรคไตได้

ถ้าผิวของคุณแห้งและคันทันทีให้ลองดื่มน้ำให้มากๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

4.มีกลิ่นปากหรือปากที่มีรสโลหะ

เมื่อของเสียเข้าไปอุดตันในเลือด ส่งผลให้สามารถเปลี่ยนรสชาติของอาหาร และทำให้ปากมีรสโลหะได้ หากมีสารพิษหรือของเสียที่มากเกินไปในเลือด ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักรู้สึกเบื่ออาหารและทำให้น้ำหนักลดลง

แต่ถ้าคุณได้รับการรักษาแล้ว ยังมีรสชาติโลหะในปากอยู่อีก แนะนำให้ไปหาหมอเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป!

5. หายใจถี่

เมื่อระบบการทำงานของไตผิดปกติ น้ำส่วนเกินในร่างกายก็จะเข้าสู่ปอด ในขณะเดียวกันโรคโลหิตจางก็จะใช้ออกซิเจนในร่างกายไปหมด ทำให้หายใจลำบากได้ อย่างไรก็ตามความล้มเหลวของไตวาย,โรคมะเร็งปอดหรือหัวใจล้มเหลวอาจทำให้หายใจถี่ได้ หากคุณมักจะหายใจไม่ออกคุณควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

6. มือและเท้าข้อเท้าบวม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตไม่สามารถถ่ายเทของเหลวส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้โซเดียมยังคงตกค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวมที่มือและเท้าและข้อเท้า อาการบวมที่ส่วนล่างของร่างกายอาจเกิดจากโรคหัวใจ, ตับ หรือเส้นเลือดขอดได้ บางครั้งยาสามารถลดระดับเกลือและล้างของเหลวส่วนเกินในร่างกายได้ หากไม่เกิดประโยชน์ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไป!

7. ปวดหลัง

ความล้มเหลวของไตอาจทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณขาหนีบหรือบริเวณที่มีสะโพก อาการปวดหลังและอาการปวดขาอาจเกิดจากซีสต์ในไต ซีสต์ไตส่วนใหญ่เกิดจากบนผิวของไตมีตุ่มน้ำเกิดขึ้น ข้างในมีของเหลว เพราะฉะนั้นหากคุณมีอาการปวดหลังที่เกิดจากความผิดปกติของไต จะมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้,อาเจียน,อุณภูมิร่างกายสูง และอาการปัสสาวะบ่อยๆ ถ้าคุณปวดหลัง เมื่อรับประทานยาแก้ปวดก็ไม่ได้ผล ให้รีบไปที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด

8. ตาบวม

หากการทำงานของไตได้รับผลกระทบ จะทำให้เกิดภาวะโปรตีนในปัสสาวะ มีผลข้างเคียงคือมีอาการบวมน้ำรอบดวงตา,อาการบวมน้ำในดวงตา แสดงถึงความสามารถของไตที่ไม่สามารถเก็บและกระจายโปรตีนภายในร่างกาย ทำให้โปรตีนไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ

หากคุณมีการพักผ่อนอย่างเพียงพอ และยังมีการเสริมโปรตีน แต่ยังมีปัญหาเรื่องเปลือกตาบวม คุณควรขอความช่วยเหลือจากแพทย์ทันที!!

9. ความดันโลหิตสูง

ระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์และไตมีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด แยกจากกันไม่ได้ ไตมีความสามารถในการกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินจากเลือดได้ หากหลอดเลือดเสียหาย ไตก็จะไม่สามารถรับสารอาหารและออกซิเจนที่เพียงพอได้ ซึ่งนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดภาวะไตวาย

ขอแนะนำให้กินอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกเพื่อช่วยในการก่อตัวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคโลหิตจางและความดันโลหิตสูงได้

10.การเปลี่ยนแปลงของปัสสาวะ

ไตมีหน้าที่ในการผลิตปัสสาวะและกำจัดของเสีย ดังนั้นควรสังเกตกลิ่น สีและลักษณะของปัสสาวะรวมทั้งความถี่ในการถ่ายปัสสาวะ ถ้าคุณปัสสาวะถี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน ให้ระวังมากขึ้น!

และถ้าคุณพบเลือดในปัสสาวะคุณควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากไตที่มีสุขภาพดีจะกรองของเสียของเลือดและผลิตปัสสาวะหากไตชำรุดเซลล์เม็ดเลือดแดงจะเข้าสู่ปัสสาวะ

ขอบคุณข้อมูลจาก liekr.com | brightside